วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

5. องค์ประกอบการจัดการความรู้

องค์ประกอบการจัดการความรู้
วรวรรณ วาณิชย์เจริญชัย (http://www.ns.mahidol.ac.th/english/KM/article004.htm กล่าวว่าไว้ การจัดการความรู้ จะประกอบไปด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ คือ
1. การกำหนดความรู้ ( Knowledge Identification) เป็น การ ระบุ ความรู้ และความเชี่ยวชาญ ขององค์กรที่มีอยู่แล้วทั้งภายในองค์กรและภายนอกองค์กร รวมทั้งการระบุ ชนิดของความรู้ที่องค์กรต้องการ
2. การแสวงหาความรู้ ( Knowledge Acquisition) เป็น กระบวนการของการค้นหาและการวางแผนในการเก็บรวบรวมความรู้ที่ต้องการ ทั้งจากแหล่งความรู้จากภายในและภายนอกองค์กร ซึ่ง อาจได้มาจากเอกสารที่มีอยู่แล้วหรือจากผู้เชี่ยวชาญ
3. การสร้างความรู้ (Knowledge Creation) เป็น กระบวนการของการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และประสบการณ์ซึ่งกันและกันของแต่ละบุคคล เพื่อทำให้เกิดความรู้ และแนวคิดใหม่
4. การจัดเก็บความรู้ (Knowledge Storage) เป็น กระบวนการของกำหนด รูปแบบของความรู้ และ เทคโนโลยีที่จะใช้ จัดเก็บ เพื่อรักษาความรู้ที่มีคุณค่าขององค์กรไว้ในฐานความรู้ที่เหมาะสม รวมทั้งมีการปรับปรุงความรู้ให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ
5. การเผยแพร่ความรู้ ( Knowledge Distribution) เป็น กระบวนการของการถ่ายทอดความรู้ที่มีอยู่ในองค์กรไปสู่บุคคลอื่น เพื่อให้บุคคลที่ต้องการใช้ความรู้ สามารถเข้าถึงความรู้ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
แต่อย่างไรก็ตามการจัดการความรู้ภายในองค์กรนี้ มิใช่เป็นหน้าที่ของบุคคลใดเพียงบุคคลหนึ่งแต่จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของบุคคลทุกคนในองค์กรมาร่วมมือกันในการดำเนินการให้เกิดระบบการจัดการความรู้ขึ้นมา ตลอดจนการใช้เทคนิควิธีการต่างๆ รวมทั้งเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเผยแพร่ความรู้ สิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดระบบการจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพขึ้นภายในองค์กร

https://sites.google.com/site/imformation5245/home/xngkh-prakxb-ni-kar-cadkar-khwam-ru  กล่าวไว้ว่า องค์ประกอบการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย
1. คน (man) 
ในการจัดการความรู้ คนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด เนื่องจากคนเกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ส่วนบุคคล
2. เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology-IT) 
ในเรื่องของการจัดการความรู้นั้นมีงานวิจัยเป็นจำนวนมากที่พยายามอธิบายความสัมพันธ์และบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศกับการจัดการความรู้ ดังที่ปรากฏว่าเป็นเรื่องราวจำนวนมากที่แสดงถึงการจัดการความรู้ขององค์กรผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศแม้ว่ากระบวนการจัดการความรู้เป็นกระบวนการที่ไม่ใช่เทคโนโลยี แต่เทคโนโลยีก็เป็นที่ถูกคาดหมายว่าเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้การจัดการความรู้ประสพความสำเร็จ
3. กระบวนการจัดการความรู้ (Process) 
เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้เกิดพัฒนาของความรู้ หรือการจัดการ ความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร

                http://teacher80std.blogspot.com/2012/07/114.html  กล่าวไว้ว่า องค์ประกอบการจัดการความรู้ มีดังนี้
1) บุคลากร (ครู)
หมายถึง ครู บุคลากรทางการศึกษา เจ้าหน้าที่ ผู้ปฏิบัติงาน ภูมิปัญญา หรือผู้ที่มีส่วนในการจัดกิจกรรมทางการศึกษา เป็นผู้นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อกระบวนการจัดการศึกษา
2) ข้อมูล/ความรู้
หมายถึง ข้อมูล ความรู้ หรือประสบการณ์ต่างๆที่อยู่ในบุคลากร(ครู) สาระเนื้อหาการเรียนรู้ (ตาม)หลักสูตร สื่อ และองค์ประกอบอื่นๆ ที่ใช้ในการเรียนรู้ ถูกนำมาบูรณาการเพื่อการเรียนรู้ และการเข้าถึง นำไปสู่การเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ
3) เทคโนโลยีและการสื่อสาร
เป็นเครื่องมือเพื่อให้คนสามารถค้นหา จัดเก็บ แลกเปลี่ยน นำความรู้ไปใช้ได้อย่างง่ายและรวดเร็วขึ้น การจัดการความรู้ มีความจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีสนับสนุนและเป็นเทคโนโลยีขั้นสูง คือระบบสารสนเทศ ระบบการเรียนรู้ ระบบการสื่อสาร และระบบสนับสนุน กระบวนการ กระบวนการประกอบด้วยขั้นตอน การแสวงหา การสร้าง การเก็บและเรียกใช้ การถ่ายโอน
4) วิธีการและกระบวนการ
หมายถึง วิธีการบริหารและจัดการเพื่อนำมวลความรู้ จากแหล่งความรู้นำไปเผยแพร่ในระบบอย่างมีระบบและประสิทธิภาพต่อการเรียนรู้สูงสุด

สรุป
การจัดการความรู้ จะประกอบไปด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ คือ
1. การกำหนดความรู้ ( Knowledge Identification) เป็น การ ระบุ ความรู้ และความเชี่ยวชาญ ขององค์กรที่มีอยู่แล้วทั้งภายในองค์กรและภายนอกองค์กร รวมทั้งการระบุ ชนิดของความรู้ที่องค์กรต้องการ
2. การแสวงหาความรู้ ( Knowledge Acquisition) เป็น กระบวนการของการค้นหาและการวางแผนในการเก็บรวบรวมความรู้ที่ต้องการ ทั้งจากแหล่งความรู้จากภายในและภายนอกองค์กร ซึ่ง อาจได้มาจากเอกสารที่มีอยู่แล้วหรือจากผู้เชี่ยวชาญ
3. การสร้างความรู้ (Knowledge Creation) เป็น กระบวนการของการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และประสบการณ์ซึ่งกันและกันของแต่ละบุคคล เพื่อทำให้เกิดความรู้ และแนวคิดใหม่
4. การจัดเก็บความรู้ (Knowledge Storage) เป็น กระบวนการของกำหนด รูปแบบของความรู้ และ เทคโนโลยีที่จะใช้ จัดเก็บ เพื่อรักษาความรู้ที่มีคุณค่าขององค์กรไว้ในฐานความรู้ที่เหมาะสม รวมทั้งมีการปรับปรุงความรู้ให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ
5. การเผยแพร่ความรู้ ( Knowledge Distribution) เป็น กระบวนการของการถ่ายทอดความรู้ที่มีอยู่ในองค์กรไปสู่บุคคลอื่น เพื่อให้บุคคลที่ต้องการใช้ความรู้ สามารถเข้าถึงความรู้ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
แต่อย่างไรก็ตามการจัดการความรู้ภายในองค์กรนี้ จะต้องประกอบไปด้วย
1. คน (man) ในการจัดการความรู้ คนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด เนื่องจากคนเกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ส่วนบุคคล
2. เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology-IT) ในเรื่องของการจัดการความรู้นั้นมีงานวิจัยเป็นจำนวนมากที่พยายามอธิบายความสัมพันธ์และบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศกับการจัดการความรู้ ดังที่ปรากฏว่าเป็นเรื่องราวจำนวนมากที่แสดงถึงการจัดการความรู้ขององค์กรผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศแม้ว่ากระบวนการจัดการความรู้เป็นกระบวนการที่ไม่ใช่เทคโนโลยี แต่เทคโนโลยีก็เป็นที่ถูกคาดหมายว่าเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้การจัดการความรู้ประสพความสำเร็จ
3. กระบวนการจัดการความรู้ (Process) เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้เกิดพัฒนาของความรู้ หรือการจัดการ ความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร
มิใช่เป็นหน้าที่ของบุคคลใดเพียงบุคคลหนึ่งแต่จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของบุคคลทุกคนในองค์กรมาร่วมมือกันในการดำเนินการให้เกิดระบบการจัดการความรู้ขึ้นมา ตลอดจนการใช้เทคนิควิธีการต่างๆ รวมทั้งเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเผยแพร่ความรู้สิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดระบบการจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพขึ้นภายในองค์กร

แหล่งอ้างอิง
                วรวรรณ วาณิชย์เจริญชัย (http://www.ns.mahidol.ac.th/english/KM/article004.htm) [ออนไลน์].  เข้าถึงเมื่อวันที่  22 กรกฎาคม 2556.
https://sites.google.com/site/imformation5245/home/xngkh-prakxb-ni-kar-cadkar-khwam-ru  [ออนไลน์].  เข้าถึงเมื่อวันที่  22 กรกฎาคม 2556.

http://teacher80std.blogspot.com/2012/07/114.html  [ออนไลน์].  เข้าถึงเมื่อวันที่  22 กรกฎาคม 2556.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น