วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

2. นิยามการจัดการความรู้

นิยามการจัดการความรู้

ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์ (2548:1-24)  กล่าวไว้ว่า  การจัดการความรู้เป็นกระบวนการในการนำความรู้ที่มีอยู่หรือเรียนรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร โดยผ่านกระบวนการต่าง ๆ เช่น  การสร้าง  รวบรวม แลกเปลี่ยนและใช้ความรู้ เป็นต้น  การจัดการความรู้เป็นระบบการบริหารองค์กรหรือเครื่องมือเพื่อการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย  4   ประการ  คือ
     1.  บรรลุเป้าหมายของงาน พัฒนางาน
     2.  บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน การทำงานอย่างผู้รู้จริง
     3.  บรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
     4.  บรรลุเป้าหมายของการบริการ แก่ผู้รับบริการ และชุมชน

http://www.gotoknow.org/posts/259491  กล่าวไว้ว่า  กระบวนการพัฒนาความรู้ของบุคคล และองค์กรเพื่อสร้างคุณภาพและประสิทธิภาพโดยการรวมกลุ่มกัน กำหนดวิสัยทัศน์ร่วมคิดร่วมทำ แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์ของสมาชิกผสมผสานกับความรู้จากแหล่งความรู้จากแหล่งข้อมูลทั่วไป มีการกำหนดเป้าหมาย วิธีการปฏิบัติ การทดลอง การตรวจสอบ การสังเคราะห์และการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์    
    
http://www.nokpct.net/home/Home.aspx  กล่าวไว้ว่า  คำว่าการจัดการความรู้หรือ(KnowledgeManagement) นั้น ถ้าจะให้เข้าใจให้ได้ดีและไม่เกิดความสับสน เราจะต้องแยกคำสองคำนี้ออกจากกันก่อน คือคำว่า Knowledge และคำว่า Manage คำแรก Knowledge คือความรู้ที่อยู่รอบตัวเราทั้งหมดทั้งนี้รวมถึง Tacit knowledge หรือความรู้ที่ไม่มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอน ยากจะถ่ายทอดออกมาเป็นข้อความหรือตัวหนังสือหรือสื่อต่างๆ เป็นความรู้ที่อยู่กับตัวบุคคล เป็นประสบการณ์ส่วนบุคคล และ Explicit knowledge คือความรู้ที่มีกฎเกณฑ์ สามารถเขียนหรือใช้สื่อเขียนแทนได้ สามารถเรียนรู้ได้ สอนงานกันได้ เป็นต้น อีกคำหนึ่งคือคำว่า Manage คือการจัดการ เมื่อนำคำสองคำนี้มีผสมกันและแปลความหมาย จะ หมายถึง  เราจะทำอย่างไร (Howto)ที่จะเอาความรู้ดังกล่าวข้างต้นและการสร้างองค์ความรู้ใหม่มาร้อยเรียงเป็นเรื่องราวผ่านกระบวนการจัดการ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อองค์กร และหรือต่อคนในองค์กร

สรุป
นิยามการจัดการความรู้ คือ การจัดการความรู้เป็นกระบวนการในการนำความรู้ที่มีอยู่หรือเรียนรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร โดยผ่านกระบวนการต่าง ๆ เพื่อสร้างคุณภาพและประสิทธิภาพโดยการรวมกลุ่มกัน กำหนดวิสัยทัศน์ร่วมคิดร่วมทำ แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์ของสมาชิกผสมผสานกับความรู้จากแหล่งความรู้จากแหล่งข้อมูลทั่วไป มีการกำหนดเป้าหมาย วิธีการปฏิบัติ การทดลอง การตรวจสอบ การสังเคราะห์และการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์เอาความรู้ดังกล่าวข้างต้นและการสร้างองค์ความรู้ใหม่มาร้อยเรียงเป็นเรื่องราวผ่านกระบวนการจัดการ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อองค์กร และหรือต่อคนในองค์กร

แหล่งอ้างอิง
         ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. (2548). การจัดการองค์ความรู้. กรุงเทพฯ: สามเจริญพานิช.
                 http://www.gotoknow.org/posts/259491 [ออนไลน์].  เข้าถึงเมื่อวันที่  16 กรกฎาคม 2556.
                 http://www.nokpct.net/home/Home.aspx   [ออนไลน์].  เข้าถึงเมื่อวันที่  16 กรกฎาคม 2556.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น