วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

7. ปัจจัยความสำเร็จในการจัดการความรู้

ปัจจัยความสำเร็จในการจัดการความรู้
        
          บุญดี บุญญากิจ และคณะ  (2547:36-38)  กล่าวไว้ว่า ความรู้เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีศักยภาพ เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนองค์กรให้อยู่รอดได้ แต่ความรู้มีความซับซ้อน มีการเปลี่ยนแปลง และสร้างขึ้นใหม่ตลอดเวลา ดังจะเห็นได้จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารรวมถึงวิทยาการและนวัตกรรมใหม่ๆที่เกิดขึ้น ล้วนต้องใช้ความรู้ในการพัฒนาทั้งสิ้น ผู้บริหารขององค์การจึงต้องหันมาให้ความสำคัญกับความรู้ของคนในองค์กร โดยนำกลยุทธ์การจัดการความรู้มาเป็นเครื่องมือในการบริหาร
          ปัจจุบันการจัดการความรู้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย ซึ่งกระบวนการจัดการความรู้มีหลายรูปแบบ แต่สิ่งสำคัญของทุกรูปแบบคือการกำหนดความรู้ที่สนับสนุนยุทธศาสตร์ขององค์การ เพื่อส่งผลให้องค์การบรรลุเป้าหมาย การแลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อนำความรู้ของพนักงานแต่ละคนในองค์การมาแบ่งปันแลกเปลี่ยนและต่อยอด ก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การจัดเก็บความรู้ เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหา และการนำความรู้ที่ได้ไปใช้งาน แต่ความสำเร็จในนำการจัดการความรู้มาใช้พัฒนาคน พัฒนางาน และพัฒนาองค์การต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ

1. ผู้นำและกลยุทธ์
          ผู้นำหรือผู้บริหาร มีความสำคัญต่อการดำเนินการจัดการความรู้ เพราะเป็นผู้กำหนดนโยบาย กลยุทธ์ เป้าหมาย และเป็นผู้สนับสนุนให้เกิดการจัดการความรู้ ผู้บริหารต้องมุ่งมั่นที่จะบรรลุผลลัพธ์ของการจัดการความรู้ ต้องให้การสนับสนุนทรัพยากรงบประมาณ และเวลา อย่างพอเพียง แสดงภาวะผู้นำในการสร้างแรงบันดาลใจให้ทีมงานที่รับผิดชอบ และบุคลากรทั่วไป รวมทั้งเป็นแบบอย่างที่ดี ในการดำเนินกิจกรรมการจัดการความรู้ ผู้นำทีมการจัดการความรู้จะต้องให้การยอมรับสมาชิกทีมทุกคน เพื่อให้สมาชิกทีมมีความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของทีม มีการกระตุ้นให้บุคลากรในองค์การ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแสดงความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่ ผู้นำต้องสร้างแรงจูงใจเพื่อให้สมาชิกเต็มใจเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมการจัดการความรู้ ตลอดจนสร้างบรรยากาศที่มีความอบอุ่นและเป็นมิตร เพื่อให้เกิดความไว้วางใจและสามารถดำเนินกิจกรรมการจัดการความรู้ได้อย่างมีประสิทธิผล
         ส่วนกลยุทธ์ เป็นการเลือกใช้วิธีในการดำเนินงานการจัดการความรู้ ซึ่งขึ้นกับบริบทและปัจจัยแวดล้อมขององค์การนั้น แผนกลยุทธ์ในการจัดการความรู้ ควรเลือกทำในเรื่องที่สามารถบูรณาการเข้ากับงานประจำได้ กลยุทธ์การจัดการความรู้ตามแนวคิดของ แฮนเซนและคณะ (Hansen, Nohria, and Tierney) มี 2 แบบ คือ กลยุทธ์ที่เน้นการใช้ประโยชน์จากความรู้แบบชัดแจ้ง(Codification strategy) เป็นกลยุทธ์ที่พยายามแปลงความรู้ทุกอย่างให้อยู่ในรูปแบบของความรู้แบบชัดแจ้งให้มากที่สุด ดำเนิน
การโดยรวบรวมข้อมูลสำคัญๆบันทึกในสื่อต่างๆหรือระบบฐานข้อมูล และกลยุทธ์ ที่เน้นการใช้ประโยชน์จากความรู้ที่สะสมในบุคคล (Personalization strategy) เป็นกลยุทธ์ที่เน้นการสร้างเครือข่ายเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และการถ่ายทอดความรู้โดยตรงจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง กลยุทธ์นี้จะใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยอำนวยความสะดวกในด้านการสื่อสาร

2. วัฒนธรรมองค์กร
          เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ส่งผลให้การจัดการความรู้ประสบความสำเร็จโดยเฉพาะวัฒนธรรมของการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้ระหว่างบุคคลในองค์กร ผู้บริหารต้องสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรให้เอื้อต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างวัฒนธรรมแนวคิดเชิงบวก และสร้างบรรยากาศให้บุคลากรเกิดความไว้วางใจกัน รวมทั้งสนับสนุนการเผยแพร่และเพิ่มพูนความรู้ในการทำงานแก่คนในองค์กร ซึ่งแนวทางการจัดการวัฒนธรรมองค์กรให้เอื้อต่อการบริหารจัดการความรู้ มี 3 แนวทาง คือ การธำรงรักษาวัฒนธรรมเดิม ปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมบางส่วน และ สร้างวัฒนธรรมขึ้นใหม่ ถ้าผู้นำรู้จักวิธีสร้าง และปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรอย่างเหมาะสม ก็จะส่งผลให้องค์กรประสบความสำเร็จในการนำการจัดการความรู้ไปใช้
3. โครงสร้างพื้นฐานและทีม
         โครงสร้างพื้นฐาน เป็นปัจจัยพื้นฐานหลักที่สนับสนุนให้ปัจจัยอื่นๆ ทำหน้าที่ได้เต็มที่ ส่งผลให้การบริหารจัดการความรู้ดำเนินการได้อย่างราบรื่น เนื่องจากเป็นโครงสร้างทางด้านการบริหารงานจัดการความรู้ขององค์การ ซึ่งมีทั้งสิ่งที่จับต้องได้ เช่น สถานที่เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ และสิ่งที่จับต้องไม่ได้ เช่น โครงสร้างองค์กร ระบบสายการบังคับบัญชา และระบบที่สนับสนุนให้บุคลากรในองค์กร มีการแลกเปลี่ยนความรู้กันอย่างสะดวก ในการดำเนินงานจัดการความรู้ต้องจัดทำโครงสร้างการบริหารให้มีความชัดเจนทั้งนี้เพื่อให้สมาชิกแต่ละคนทราบบทบาทหน้าที่และขอบเขตงานที่ตนเองรับผิดชอบ ใช้ระบบการบริหารแบบกระจายอำนาจ มีการมอบหมายงานและอำนาจหน้าที่ในลักษณะชั่วคราว (Temporary organization) เช่น คณะกรรมการ คณะทำงานเฉพาะกิจ หรือคณะทำงานในโครงการต่างๆ เมื่อปฏิบัติภาระหน้าที่ สำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดแล้ว จะสลายตัวไป เช่นชุมชนนักปฏิบัติ(Community of Practices: COP) ในเรื่องต่างๆของโรงพยาบาลศิริราช
         ลักษณะการปฏิบัติกิจกรรมการจัดการความรู้ที่สำคัญ คือ การทำงานเป็นทีม ซึ่งทีมต้องมีอุดมการณ์ที่แน่นอนและสมาชิกทุกคนยอมรับ ยึดถือความถูกต้อง ซึ่งไม่จำเป็นต้องถูกใจ มีการประนีประนอมกัน โดยมีน้ำใจร่วมมือกันเพื่อบรรลุเป้าหมายเดียวกัน ให้อภัยซึ่งกันและกัน ไม่เอาเปรียบกัน ถือว่าทุกคนมีความสำคัญเท่ากัน เคารพในสิทธิ์และเสรีภาพส่วนตัวของผู้อื่น
4. เทคโนโลยีและการสื่อสาร
          เทคโนโลยี เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การติดต่อ สื่อสาร และเชื่อมโยงคนภายในและภายนอกองค์กรสะดวกและรวดเร็วขึ้น ไม่มีข้อจำกัดทั้งด้านเวลาและระยะทาง และเป็นแหล่งข้อมูล จึงมีบทบาทสำคัญของการจัดการความรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอินเทอร์เน็ตเป็นเทคโนโลยีที่เชื่อมคนทั่วโลกเข้าด้วยกัน ทำให้กระบวนการแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge transfer) ทำได้ดียิ่งขึ้น ทั้งยังสามารถช่วยในด้านการจัดเก็บ และปรับปรุงความรู้ (Knowledge storage and maintenance) เทคโนโลยีช่วยลดค่าใช้จ่ายใน
การดำเนินการกระบวนการจัดการความรู้ด้วย อีกทั้งเทคโนโลยียังช่วยให้การเรียนรู้ทำได้ง่ายยิ่งขึ้นเพราะช่วยให้รูปแบบการนำเสนอข้อมูลความรู้มีหลากหลาย จึงนับว่าเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือสนับสนุนและเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการจัดการความรู้อย่างไรก็ตามหากเน้นเฉพาะที่เทคโนโลยีหรืออินเทอร์เน็ตโดยปราศจากความสนใจในการพัฒนาคุณภาพของบุคลากรและวัฒนธรรมขององค์กรแล้ว การดำเนินการจัดการความรู้ให้ประสบความสำเร็จ จะเป็นไปได้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพนักงาน
ไม่เข้าใจและขาดความสนใจในการใช้เทคโนโลยีในการจัดการความรู้ ก็อาจเป็นการลงทุนที่สูญเปล่าได้
          ส่วนการสื่อสารเป็นกระบวนการติดต่อส่งผ่านข้อมูล ความคิด ความเข้าใจ หรือความรู้สึกระหว่างบุคคล พฤติกรรมที่ทำให้เกิดบรรยากาศที่ดีในการสื่อสาร ได้แก่ การเอาใจเขามาใส่ใจเรา (Empathy) คือเราเข้าใจผู้อื่น เราสามารถรับรู้ความรู้สึกผู้อื่น เราพร้อมและเต็มใจที่จะคุยกับผู้อื่นและเราจะช่วยเท่าที่เราจะทำได้ การเปิดเผยข้อมูล (Openness) คือ การเปิดเผยความคิดและความรู้สึก ให้ผู้อื่นรับทราบ ความไว้วางใจ (Trust) การพรรณนา (Describing) หรือ การถ่ายทอดข้อมูล การดัดแปลงเอาข้อมูลที่ได้จากประสาทสัมผัสมาเป็นคำพูด การเปิดโอกาสให้ผู้อื่นแสดงความคิดเห็น (Provisionalism) ทักษะการสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของผู้นำ และทีม เพราะเป็นสิ่งที่จะช่วยสนับสนุนส่งเสริมให้การดำเนินการจัดการความรู้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
5. การวัดและประเมินผล
          ผู้บริหารควรกำหนดตัวชี้วัดและเกณฑ์ เพื่อใช้ประเมินผล เป็นกลไกขับเคลื่อนการจัดการความรู้ของแต่ละฝ่ายฯและองค์การเพราะจะทำให้ทราบความก้าวหน้า และปรับปรุงงานให้ดีขึ้นได้ ใช้ติดตาม (Monitor) การทำงาน แล้วนำมาทบทวนแก้ไขข้อบกพร่องของกระบวนการต่างๆและปรับปรุงให้ประสบผลสำเร็จ ใช้เป็นเครื่องมือสำหรับกระตุ้น (Motivate) ผู้ปฏิบัติงาน การวัดความสำเร็จของการจัดการความรู้ โดยใช้การอภิปรายผลลัพธ์ที่ได้ วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของการจัดการความรู้ ได้แก่
การทำให้เกิดองค์ความรู้ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน โดยประเมินจากเอกสารสรุปปัญหาและอุปสรรค หรือข้อดีข้อเสียในการนำองค์ความรู้ที่สร้างขึ้นไปใช้ และการวัดกระบวนการตามขั้นตอน ด้วยการใช้แบบสอบถามความคิดเห็น และแบบสังเกตการมีส่วนร่วมของพนักงานในองค์การ
          องค์ประกอบทั้งหมดที่กล่าวมา ต่างมีผลต่อความสำเร็จของการจัดการความรู้ ซึ่งไม่สามารถจะกล่าวได้ว่าองค์ประกอบใดสำคัญกว่ากัน เพราะทุกองค์ประกอบเป็นปัจจัยที่ต่างส่งผลกระทบต่อกันและกัน ดังนั้นการจะทำให้การดำเนินกิจกรรมการจัดการความรู้ประสบความสำเร็จนั้น ผู้บริหารและคณะทำงานการจัดการความรู้ จะต้องสามารถบริหารจัดการองค์ประกอบทั้งหมดอย่างเป็นระบบ ไปในทิศทางเดียวกัน และมีความสอดคล้องเชื่อมโยง


นฤมล รื่นไวย์ (http://kmlite.wordpress.com/2010/06/18/v3i3-06/)  กล่าวไว้ว่า จากการศึกษาของ Wong (2005) เกี่ยวกับปัจจัยสำคัญแห่งความสำเร็จในการทำ KM เขาเสนอว่า เราควรมองหา CSF ขององค์กรเราเองในลักษณะที่ เราควบคุมมันได้นั่นคือ มันควรเป็นปัจจัยภายในที่เราคุมได้เท่านั้นเพราะการจะไปอาจหาญคุมปัจจัยแวดล้อมภายนอกเป็นสิ่งที่แทบจะเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว Wong ได้รวบรวม CSF จากงานวิจัยหลายๆชิ้นและเสนอว่าในภาพกว้าง CSFที่สำคัญของ KM ควรประกอบไปด้วยปัจจัยดังต่อไปนี้
1. วัฒนธรรม ในงานศึกษาวิจัยบางชิ้น ได้เสนอผลการวิจัยไว้อย่างน่าสนใจว่า การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ลักษณะ KM ควรกระทำใน วัฒนธรรมฉันกัลยาณมิตรอันนี้เป็นเรื่องปกติอยู่แล้วว่า ถ้าเรารักเราหวังดีกับใคร หรือไว้ใจใคร หรือคิดว่าใครรักและหวังดีกับเรา เราก็จะเปิดใจให้คนนั้นมากกว่าคนอื่น มีความรู้อะไรดีๆ ก็อยากจะถ่ายทอด เราเคยมีการสร้างภาคการผลิตและอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แต่สำหรับการทำ KM องค์กรจะต้องสร้างสิ่งแวดล้อมที่เป็นมิตรกับผู้ผลิต (ความรู้) ขึ้นมา
2. การใช้ IT เข้ามาเป็นเครื่องมือในขั้นตอนต่างๆ เพื่อให้เกิดทางเลือกที่หลากหลาย มีความสะดวก และรวดเร็ว กระตุ้นจูงใจให้พนักงานอยากเข้ามาเรียนรู้หรือแลกเปลี่ยนความรู้
3. ความเข้มแข็งของแกนนำ ตรงนี้ไม่ได้กล่าวถึงแกนนำทางการเมือง แต่แกนนำในที่นี้หมายถึงผู้บริหาร และ Chief Knowledge Officer หรือ CKO ของหน่วยงาน ซึ่งจะต้องลุกขึ้นมาแสดงบทบาทนำอย่างชัดเจน เอาจริงเอาจัง และสม่ำเสมอ
4. ความพอใจของพนักงาน ตรงนี้น่าจะสำคัญมากๆ เพราะถ้าพนักงานหรือ ผู้รู้ไม่ยินดีในการแลกเปลี่ยนหรือไม่สบอารมณ์ในการเรียนรู้เสียแล้ว ความรู้นั้นก็จะยังคงเก็บกักไว้เป็นtacit knowledge หรืออยู่แต่ในสมองของคนๆ นั้นไปอีกนานเท่านาน แล้วก็จะมีผลกระทบไปถึงวัฒนธรรม เพราะการดำเนินการเพื่อทำให้เกิดวัฒนธรรมแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ก็จะล้มเหลว
5. การวางแผนที่ดีขององค์กรและการนำแผนไปปฏิบัติ หลายหน่วยงานประสบปัญหาว่า มีแผนที่ดี แต่มีการปฏิบัติที่เลว คือ ปฏิบัติอย่างไม่ใส่ใจ ทำให้ครบตาม KPI กำหนดไปปีหนึ่งๆ โดยไม่มีการประเมินผล หรือไม่สนใจว่าผลงานที่ทำนั้นๆ มีคุณภาพหรือไม่ หรือที่ยิ่งแย่ไปกว่านั้นคือ มีแผน แต่ไม่ทำตามแผนอย่างตลอดรอดฝั่ง ทิ้งไปกลางคันแบบครึ่งๆ กลางๆ 

http://www.gotoknow.org/posts/285413 กล่าวไว้ว่า ปัจจัยที่ทำให้ KM ประสพความสำเร็จในองค์กร
1. วัฒนธรรมและพฤติกรรมของคนในองค์กร คนในองค์กรต้องมีความเจตคติที่ดีในการสร้างความรู้ใหม่ แบ่งปันความรู้ และนำความรู้ที่มีอยู่มาเป็นฐานในการต่อยอดความรู้ของคนรุ่นใหม่ต่อไป องค์กรเองต้องมีวัฒนธรรมภายในแห่งความไว้เนื้อเชื่อใจ และให้เกียรติกัน เคารพในสิทธิและความคิดของผู้ร่วมงานในทุกระดับแม้เป็นบุคลากรระดับล่างก็ตาม การเรียนรู้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเรื่องแม้แต่สิ่งที่เป็นข้อผิดพลาดในอดีต ที่สำคัญต้องสามารถถอดประสบการณ์มาเป็นความรู้ตัวอักษรที่ให้ผู้อื่นได้เรียนรู้ ต้องเป็นคนช่างคิดช่างฝัน
2. ผู้นำ และการสร้างกลยุทธ์ ผู้บริหารระดับสูงต้องมีความเชื่อในคุณค่าของคนและความรู้ที่มีในองค์กร เข้าใจในลักษณะของปัญหาและพันธะกิจขององค์กร ส่งเสริมและสนับสนุนความเป็นมืออาชีพในด้านต่างๆให้เกิดขึ้น ค้นหาและเชิดชูกระบวนการทำงานที่เป็นเลิศจากหน่วยงานภายใน เป็นต้นแบบแห่งการเป็นผู้ริเริ่มในการแบ่งปันและเรียนรู้ กำหนดทิศทางในการพัฒนาระบบการจัดการความรู้ภายใน วางกลยุทธ์ในการจัดทำระบบการจัดการองค์ความรู้ที่จะประสพผลสัมฤทธิ์เช่น เลือกเรื่องที่ทำแล้วเห็นผล หรือ เรื่องที่มีคนเข้าใจและมีองค์ความรู้อยู่แล้วในองค์กร ที่สำคัญที่สุดคือทำอย่างไรให้คนในองค์กรอยากนำเรื่องที่ตนรู้ออกมาแบ่งปันโดยไม่หวาดระแวงว่าจะเสียผลประโยชน์ ถูกแอบอ้างผลงาน ถูกกลั่นแกล้งเพราะอิจฉาตาร้อนต่างๆนานา องค์กรที่จะประสพความสำเร็จในเรื่องนี้ต้องสร้างอยู่บนพื้นฐานของความไว้เนื้อเชื่อใจ(Trust) และการให้เกียรติซึ่งกันและกัน(Mutual respect) โดยกุญแจสำคัญที่จะไขประตูสู่โลกที่เปิดกว้างนี้คือผู้บริหารสูงสุดขององค์กรนั่นเอง
3. Technology  ความพร้อมของอุปกรณ์ทันสมัยของเทคโนโลยีที่สามารถสนับสนุนการทำงานและการเรียนรู้ของคนในองค์กรได้ การสร้างฐานข้อมูลและการจัดการระบบฐานข้อมูลตลอดจนวิธีการที่จะทำให้คนยอมใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเป็นสื่อกลางในการรวบรวมและส่งต่อขององค์ความรู้ ที่สำคัญคือสร้างระบบการป้องกันไม่ให้คนนอกเข้ามาก่อกวนและทำความเสียหายแก่ระบบฐานข้อมูลภายในได้ ขณะเดียวกัน KM ก็ไม่ได้หมายความว่าต้องใช้เครื่องมือและอุปกรณ์แพงๆเพื่อสร้างฐานข้อมูลขนาดยักษ์แต่ไม่เอื้อประโยชน์ต่อการใช้งานของคนส่วนใหญ่ในองค์กร ผู้ที่ดูแลระบบนี้ต้องมีใจเปิดกว้างและมีความเพียรพยายามที่จะให้บริการแก่ผู้ใช้ เพื่อให้ฐานข้อมูลและระบบคอมพิวเตอร์เอื้อประโยชน์ให้คุ้มค่าเงินที่ลงทุนไป อย่าลืมว่าระบบเหล่านี้หมดอายุขัยเร็วมากภายในไม่กี่ปี
4. การวัดผลและการนำไปใช้ จัดทำระบบการติดตามและวัดผลของการจัดการความรู้และประโยชน์จากการนำไปใช้ เพื่อสร้างแรงขับเคลื่อนให้คนในองค์กรมีความกระหายอยากเรียนรู้และอยากมีส่วนร่วมในการสร้างฐานความรู้ให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
5. โครงสร้างพื้นฐาน การวางระบบการบริหารจัดการ การรวบรวมข้อมูล และการรายงานผลการดำเนินการต่างๆที่จะเอื้อให้แผนงานของการจัดการความรู้ประสพผลสำเร็จ ท้ายสุดองค์กรที่มีการจัดการองค์ความรู้ที่ดีจะสามารถเก็บเกี่ยวประโยชน์จากทุนทางด้านความรู้(Knowledge Asset)ที่เกิดจากปัญญาของบุคคลากรทุกระดับภายในองค์กรอย่างไม่รู้จักหมด เพราะเมื่อหน่วยงานได้เริ่มต้นดำเนินการเรื่อง KM จะพบว่าความรู้ที่ตัวเรา(One person)คิดว่าเรามีอยู่เยอะนั้น จริงๆแล้วยังน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับที่มีอยู่ภายในองค์กรของเราเอง และจะยิ่งรู้สึกประทับใจเมื่อค้นพบว่ามีความรู้บางอย่างมาจากที่ๆเราคาดคิดไม่ถึง ทำให้คนเราลดละอัตตาและกิเลศที่คิดว่าตนรู้แต่ผู้เดียวในจักรวาลและหวงความรู้นั้นไว้กับตนเอง(อันนี้รวมไปจนถึงข้อมูลและข้อสนเทศต่างๆด้วย) โดยหารู้ไม่ว่าสิ่งที่ตนรู้นั้นไม่มีคุณค่าใดเลยหากไม่มีผู้นำไปใช้ อย่าลืมว่าความรู้ทั้งหลายทั้งปวงเกิดจากการสอน เพราะ ยิ่งให้ยิ่งรู้ไม่เหมือนทรัพย์สินอื่นที่ยิ่งให้ยิ่งหมด
สรุป
                ปัจจุบันการจัดการความรู้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย ซึ่งกระบวนการจัดการความรู้มีหลายรูปแบบ แต่สิ่งสำคัญของทุกรูปแบบ คือ การกำหนดความรู้ที่สนับสนุนยุทธศาสตร์ขององค์การ เพื่อส่งผลให้องค์การบรรลุเป้าหมาย การแลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อนำความรู้ของพนักงานแต่ละคนในองค์การมาแบ่งปันแลกเปลี่ยนและต่อยอด ก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การจัดเก็บความรู้ เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหา และการนำความรู้ที่ได้ไปใช้งาน แต่ความสำเร็จในนำการจัดการความรู้มาใช้พัฒนาคน พัฒนางาน และพัฒนาองค์การต้องมีปัจจัยความสำเร็จในการจัดการความรู้ที่สำคัญ คือ
          1. ผู้นำและกลยุทธ์
          ผู้นำหรือผู้บริหาร มีความสำคัญต่อการดำเนินการจัดการความรู้ เพราะเป็นผู้กำหนดนโยบาย กลยุทธ์ เป้าหมาย และเป็นผู้สนับสนุนให้เกิดการจัดการความรู้ ผู้บริหารต้องมุ่งมั่นที่จะบรรลุผลลัพธ์ของการจัดการความรู้ ต้องให้การสนับสนุนทรัพยากรงบประมาณ และเวลา อย่างพอเพียง แสดงภาวะผู้นำในการสร้างแรงบันดาลใจให้ทีมงานที่รับผิดชอบ และบุคลากรทั่วไป รวมทั้งเป็นแบบอย่างที่ดี ในการดำเนินกิจกรรมการจัดการความรู้ ผู้นำทีมการจัดการความรู้จะต้องให้การยอมรับสมาชิกทีมทุกคน เพื่อให้สมาชิกทีมมีความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของทีม มีการกระตุ้นให้บุคลากรในองค์การ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแสดงความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่ ผู้นำต้องสร้างแรงจูงใจเพื่อให้สมาชิกเต็มใจเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมการจัดการความรู้ ตลอดจนสร้างบรรยากาศที่มีความอบอุ่นและเป็นมิตร เพื่อให้เกิดความไว้วางใจและสามารถดำเนินกิจกรรมการจัดการความรู้ได้อย่างมีประสิทธิผล
         ส่วนกลยุทธ์ เป็นการเลือกใช้วิธีในการดำเนินงานการจัดการความรู้ ซึ่งขึ้นกับบริบทและปัจจัยแวดล้อมขององค์การนั้น แผนกลยุทธ์ในการจัดการความรู้ ควรเลือกทำในเรื่องที่สามารถบูรณาการเข้ากับงานประจำได้
                2. วัฒนธรรมและพฤติกรรมของคนในองค์กร
คนในองค์กรต้องมีความเจตคติที่ดีในการสร้างความรู้ใหม่ แบ่งปันความรู้ และนำความรู้ที่มีอยู่มาเป็นฐานในการต่อยอดความรู้ของคนรุ่นใหม่ต่อไป องค์กรเองต้องมีวัฒนธรรมภายในแห่งความไว้เนื้อเชื่อใจ และให้เกียรติกัน เคารพในสิทธิและความคิดของผู้ร่วมงานในทุกระดับแม้เป็นบุคลากรระดับล่างก็ตาม การเรียนรู้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเรื่องแม้แต่สิ่งที่เป็นข้อผิดพลาดในอดีต ที่สำคัญต้องสามารถถอดประสบการณ์มาเป็นความรู้ตัวอักษรที่ให้ผู้อื่นได้เรียนรู้ ต้องเป็นคนช่างคิดช่างฝัน
                 3. โครงสร้างพื้นฐาน                                                                                                                                  
 การวางระบบการบริหารจัดการ การรวบรวมข้อมูล และการรายงานผลการดำเนินการต่างๆที่จะเอื้อให้แผนงานของการจัดการความรู้ประสพผลสำเร็จ ท้ายสุดองค์กรที่มีการจัดการองค์ความรู้ที่ดีจะสามารถเก็บเกี่ยวประโยชน์จากทุนทางด้านความรู้(Knowledge Asset)ที่เกิดจากปัญญาของบุคคลากรทุกระดับภายในองค์กรอย่างไม่รู้จักหมด เพราะเมื่อหน่วยงานได้เริ่มต้นดำเนินการเรื่อง KM จะพบว่าความรู้ที่ตัวเรา(One person)คิดว่าเรามีอยู่เยอะนั้น จริงๆแล้วยังน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับที่มีอยู่ภายในองค์กรของเราเอง และจะยิ่งรู้สึกประทับใจเมื่อค้นพบว่ามีความรู้บางอย่างมาจากที่ๆเราคาดคิดไม่ถึง ทำให้คนเราลดละอัตตาและกิเลศที่คิดว่าตนรู้แต่ผู้เดียวในจักรวาลและหวงความรู้นั้นไว้กับตนเอง(อันนี้รวมไปจนถึงข้อมูลและข้อสนเทศต่างๆด้วย) โดยหารู้ไม่ว่าสิ่งที่ตนรู้นั้นไม่มีคุณค่าใดเลยหากไม่มีผู้นำไปใช้ อย่าลืมว่าความรู้ทั้งหลายทั้งปวงเกิดจากการสอน เพราะ ยิ่งให้ยิ่งรู้ไม่เหมือนทรัพย์สินอื่นที่ยิ่งให้ยิ่งหมด
         4. เทคโนโลยีและการสื่อสาร
          เทคโนโลยี เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การติดต่อ สื่อสาร และเชื่อมโยงคนภายในและภายนอกองค์กรสะดวกและรวดเร็วขึ้น ไม่มีข้อจำกัดทั้งด้านเวลาและระยะทาง และเป็นแหล่งข้อมูล จึงมีบทบาทสำคัญของการจัดการความรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอินเทอร์เน็ตเป็นเทคโนโลยีที่เชื่อมคนทั่วโลกเข้าด้วยกัน ทำให้กระบวนการแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge transfer) ทำได้ดียิ่งขึ้น ทั้งยังสามารถช่วยในด้านการจัดเก็บ และปรับปรุงความรู้ (Knowledge storage and maintenance) เทคโนโลยีช่วยลดค่าใช้จ่ายใน
การดำเนินการกระบวนการจัดการความรู้ด้วย อีกทั้งเทคโนโลยียังช่วยให้การเรียนรู้ทำได้ง่ายยิ่งขึ้นเพราะช่วยให้รูปแบบการนำเสนอข้อมูลความรู้มีหลากหลาย จึงนับว่าเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือสนับสนุนและเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการจัดการความรู้อย่างไรก็ตามหากเน้นเฉพาะที่เทคโนโลยีหรืออินเทอร์เน็ตโดยปราศจากความสนใจในการพัฒนาคุณภาพของบุคลากรและวัฒนธรรมขององค์กรแล้ว การดำเนินการจัดการความรู้ให้ประสบความสำเร็จ จะเป็นไปได้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพนักงานไม่เข้าใจและขาดความสนใจในการใช้เทคโนโลยีในการจัดการความรู้ ก็อาจเป็นการลงทุนที่สูญเปล่าได้
          5. การวัดและประเมินผล
          ผู้บริหารควรกำหนดตัวชี้วัดและเกณฑ์ เพื่อใช้ประเมินผล เป็นกลไกขับเคลื่อนการจัดการความรู้ของแต่ละฝ่ายฯและองค์การเพราะจะทำให้ทราบความก้าวหน้า และปรับปรุงงานให้ดีขึ้นได้ ใช้ติดตาม (Monitor) การทำงาน แล้วนำมาทบทวนแก้ไขข้อบกพร่องของกระบวนการต่างๆและปรับปรุงให้ประสบผลสำเร็จ ใช้เป็นเครื่องมือสำหรับกระตุ้น (Motivate) ผู้ปฏิบัติงาน การวัดความสำเร็จของการจัดการความรู้ โดยใช้การอภิปรายผลลัพธ์ที่ได้ วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของการจัดการความรู้ ได้แก่
การทำให้เกิดองค์ความรู้ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน โดยประเมินจากเอกสารสรุปปัญหาและอุปสรรค หรือข้อดีข้อเสียในการนำองค์ความรู้ที่สร้างขึ้นไปใช้ และการวัดกระบวนการตามขั้นตอน ด้วยการใช้แบบสอบถามความคิดเห็น และแบบสังเกตการมีส่วนร่วมของพนักงานในองค์การ
            ปัจจัยทั้งหมดที่กล่าวมา ต่างมีผลต่อความสำเร็จของการจัดการความรู้ ซึ่งไม่สามารถจะกล่าวได้ว่าปัจจัยใดสำคัญกว่ากัน เพราะทุกปัจจัยเป็นปัจจัยที่ต่างส่งผลกระทบต่อกันและกัน ดังนั้นการจะทำให้การดำเนินกิจกรรมการจัดการความรู้ประสบความสำเร็จนั้น ผู้บริหารและคณะทำงานการจัดการความรู้ จะต้องสามารถบริหารจัดการองค์ประกอบทั้งหมดอย่างเป็นระบบ ไปในทิศทางเดียวกัน และมีความสอดคล้องเชื่อมโยง
แหล่งอ้างอิง
                บุญดี บุญญากิจ และคณะ. (2547). การจัดการความรู้: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
                นฤมล รื่นไวย์ (http://kmlite.wordpress.com/2010/06/18/v3i3-06/) [ออนไลน์].  เข้าถึงเมื่อวันที่  26 กรกฎาคม 2556.
                http://www.gotoknow.org/posts/285413 [ออนไลน์].  เข้าถึงเมื่อวันที่  26 กรกฎาคม 2556.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น